วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งที่1-2

  • ได้รับความรู้เรื่องข้อมูลและระบบสารสนเทศ ที่มีความสำคัญมากในเรื่องการบริหารการจัดการและพัฒนาองค์กร
  • ได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต(Internet) และใช้งานในการสื่อสาร สืบค้นข้อมูล และนำไปพัฒนาวิชาชีพของตนเองได้
  • ได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยทำมาเป็นสื่อการเรียนการสอนของครูทำให้ผู้เรียนมีความสนใจมากและเป้นการลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรได้เป็นอย่างดี
  • ได้รับความรู้ในเรื่องอินเตอร์เน็ตกับการสนับสนุนการศึกษาโดยนำมาใช้ในรูปแบบของการศึกษาทางไกล การเรียนการสอนผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนต์ ระบบการเรียนออนไลน์ ระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เป็นต้น
  • ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและภาคเอกชน
  • ความรู้ในการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน

-มีความรู้ในเรื่องสมัครmail และเริ่มส่งmailการสื่อสารผ่าน E-mail

- มีความรู้ในการทำBlogและมีBlogเป็นของตนเอง

-ได้รับรู้เกี่ยวกับการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆในห้อง

-มีความรู้และเพิ่มความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น

บทคัดย่อนวัตกรรมทางการศึกษา

บทคัดย่อนวัตกรรมทางการศึกษา

ชื่องานวิจัย การใช้เทคนิคแบบร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทย
ตามกรอบแนวคิดผู้เรียนสร้างความรู้เอง ของนักเรียนชั้น ม.1
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
ชื่อผู้วิจัย นางนงคราญ ติกุล
ปีที่ทำการวิจัย 2550

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เทคนิคแบบร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทยตามกรอบแนวคิดผู้เรียน
สร้างความรู้เอง เพื่อศึกษาผลการใช้เทคนิคแบบร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทย ตามกรอบแนวคิดผู้เรียนสร้างความรู้เอง และเพื่อศึกษา
ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนเทคนิคแบบร่วม
มือในการเรียนวรรณคดีไทย ตามกรอบแนวคิดผู้เรียนสร้างความรู้เอง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 12 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาเชียงรายเขต 3 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550
จำนวน 32 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแบบร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทย ตามกรอบแนวคิดผู้เรียนสร้างความรู้ จำนวน 5 แบบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยแบบปรนัยชนิดเลือก 4 ตัวเลือก และแบบประเมินคุณภาพการจดบันทึกของผู้เรียนตามเกณฑ์รูบริคส์ ( Rubrics )
ข้อมูลทั้งหมดที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและ
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : พบว่าแผนการเรียนรู้แบบใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทย ตามกรอบแนวคิดผู้เรียนสร้างความรู้เองมีประสิทธิภาพเฉลี่ยเท่ากับ 85.18/84.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 นักเรียนมีสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 80.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
ที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 กำหนดไว้ร้อยละ 70 ผลงานของผู้เรียนขณะทำการสอน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 7.56 ของคะแนนเต็ม
10 คะแนน ค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการประเมินคุณภาพการจดบันทึกของผู้เรียนตามเกณฑ์ รูบริคส์ ( Rubrics ) ขณะทำการสอน
จำนวน 11 ครั้ง มีแนวโน้มสูงขึ้นความคิดเห็นของนักเรียนต่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทย ตามกรอบแนวคิด ผู้เรียนสร้างความรู้เองในระดับเหมาะสมมากที่สุด ค่าเฉลี่ย

อ้างอิง นงคราญ ติกุล.2550

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ภาพประทับใจ

สามสาวพลังจี๊ด...จ้า


Congraturations my daughter













มารู้จักครูอิ่ม

ชื่อ นางวิภา โกศาสตร์ ชื่อเล่น อิ่ม สถานที่ทำงานเทศบาลตำบลแปลงยาว